บทความ

ประเภทของผ้าไทย

ประเภทของผ้า   เส้นใยไหม (Silk)  ใยไหมมาจากโปรตีนของรังไหม แล้วนำมาปั่นจนได้เป็นเส้นด้าย นำมาทอ หรือถักได้เป็นผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าไหมนั้น มีความนุ่มมือ เงางามจับตา ไม่ยับง่าย หรือไม่ยับเลย คงสภาพของผ้าได้ดีทีเดียว ดูดความชื้นได้ดีพอสมควร  และ สามารถปรับตัวได้ในอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงใส่สบายมาก ฤดูหนาวก็ใส่แล้วอบอุ่น สามารถติดไฟได้ เวลาไหม้ผ้าจะหด และไหม้เป็นขี้เถ้า ต้องซักด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนเท่านั้น เพราะผงซักฟอกที่มีกรดแรงจะทำลายเนื้อผ้า ก่อนรีดต้องนำผ้าฝ้ายมารอง            เส้นใยลินิน (Linen)  ผลิตจากเส้นใยของต้น flax แล้วนำมาปั่น จนได้เป็นเส้นด้าย จากนั้นจึงมาทอ หรือ การถัก ได้เป็น ผืนผ้า ลินิน นั้นเส้นใยธรรมชาติที่มีความคงทน และความแข็งแรงที่สุด โดยที่คุณสมบัติของผ้าลินิน นั้นจะยับง่าย ซักได้ สามารถ รีดได้ที่อุณหภูมิสูงลักษณะของจะมี ความมันเงาสวยงาม ผิวเรียบแข็ง และดูดซึมน้ำได้ ติดไฟได้ เวลาไหม้จะเหมือนกระดาษ เวลาพับผ้าลินินต้องใช้การม้วนเท่านั้น เพราะถ้าพับเส้นด้ายอาจหัก เสียทรงได้           เส้นใยฝ้าย (Cotton)  ได้มาจากการนำ เส้นใยของปุยฝ้ายนำมาปั่นจนเกิดเป็นเส้นด้

ผ้าของภาคอีสาน

รูปภาพ
ผ้าไทยภาคอีสาน ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผ่าไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า   ลาว   เป็นกลุ่มชาติพันธ์ใหญ่สุดของภาคอีสาน  ภาคอีสานมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด  หรือประมาณ ๑๗๐๒๒๖ ตารางกิโลเมตร กลุ่มไท-ลาวเหล่านี้กรระจายอยู๋ทัวไปแทบทุกจังหวัด  และสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดเลย  นครราชสีมา และชัยภูมิ มีความใกล้ชิดกับหลวงพระบาง  กลุ่มชนในเขตจังหวัดหนองคาย  อุดรธานี ขอนแก่น มีความใกล้ชิดกับเวียงจันทน์  กลุ่มชนในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์  เป็นกลุ่มผู้ไทหรือภูไท  กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และมหาสารคาม  โน้มเอียงไปทางจำปาสัก  กลุ่มชนในบริเวณภาคอีสานมิได้มีเฉพาะคนไท-ลาวเท่านั้น ยังมีกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ อีกเช่น ข่า กระโส้ กะเลิง ส่วย และเขมร โดยเฉพาะเขมรและส่วยซึ่งกระจายกันอยู่ในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://gif

ผ้าไทยของภาคใต้

รูปภาพ
ผ้าไทยภาคใต้   ผ้าที่ทอในบริเวณดินแดนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจรดเขตประเทศมาเลเซีย ที่มีความยาวของพื้นที่ประมาณ ๗๕๐ กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นแผ่นดินแคบและคาบสมุทร ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทอดไปตามอ่าวไทย ได้แก่ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกขึ้นไปทางด้านทิศตะวันตกบนผืนแผ่นดินมีเทือกเขาสำคัญที่เป็นสันของคาบสมุทร ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ต่อเชื่อมมาจากเทือกเขาหิมาลัย ทอดยาวลงไปจนถึงเขตจังหวัดกระบี่ ต่อลงไปเป็นเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรีทอดยาวลงไปจนสุดเขตประเทศไทย เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญๆ ของภาคใต้ที่ไหลจากทิศตะวันตกผ่านที่ราบไปสู่ทะเลด้านทิศตะวันออก ทำให้เกิดปากแม่น้ำเป็นอ่าวสำหรับจอดเรือเพื่อการคมมนาคมและท่าเรือประมงได้เป็นอย่างดี เช่น อ่าวชุมพร อ่าวบ้านดอน และอ่าวสงขลา นอกจากนี้แม่น้ำเหล่านี้ยังนำความชุ่มชื้นไปสู่บริเวณภาคใต้ ทำให้เกิดอาชีพเกษตรกรรมในที่ราบผืนแผ่นดิน ทั้งยังนำโคลนตมไปทับถมกันในบริเวณปากแม่น้ำ ผสานเข้ากับทรายที่เกิดจากการพัดเข้าหาฝั่ง

ผ้าไทยของภาคเหนือ

รูปภาพ
ผ้าไทยภาคเหนือ   ผ้าพื้นบ้านภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดคือ ผ้าไทยวน ผ้าไทลื้อ ผ้าของกลุ่มชนทั้งสอง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องบูชาตามความเชื่อที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะผ้าซิ่น ผ้านุ่งผู้หญิงของกลุ่มไทยวนและไทลื้อมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกัน แบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://giftbenchawan.blogspot.com/

ผ้าไทยของภาคกลาง

รูปภาพ
ภาคกลาง ผ้าไทยภาคกลาง  กลุ่มชนเชื้อสายไท-ลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคกลางด้วยสาเหตุทางการเมืองในอดีต และเข้ามาในช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปตีล้านช้าง(ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน) ได้กวาดต้อนชาวผู้ไทดำ ไททรงดำ ไทดำ หรือไทโซ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า ลาวโซ่ง และชาวลาวอื่นๆ จากบริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคกลาง เช่น บางท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี  นครนายก ลพบุรี ราชบุรี ชลบุรีและ จันทบุรี ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://giftbenchawan.blogspot.com/

ผ้าไหมไทย

รูปภาพ
ประเภทไหมไทย           ผ้าไหมไทยนับเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ลวดลาย และสีสันแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ตามความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมในพื้นถิ่น โดยกรรมวิธีทำให้เกิดลวดลายในผ้าไหมไทยแบ่งเป็น  3  ประเภท ได้แก่ ลวดลายจากกรรมวิธีการทอ เช่น จก ยก ขิด ขัด ลวดลายจากกรรมวิธีการเตรียมลวดลายเส้นด้ายก่อนทอ เช่น การมัดหมี่ และลวดลายจากกรรมวิธีการทำลวดลายหลังจากเป็นผืนผ้า เช่น การย้อม การมัดย้อม อย่างไรก็ตามหากเราจำแนกผ้าไหมไทยตามกรรมวิธีเทคนิคการทอสามารถจำแนกได้โดยสังเขป ดังนี้ 1.  การทอขัด 2.  มัดหมี่ 3.  จก 4.  ขิด 5.  ยก 6.  การควบเส้น 1.  การทอขัด           การทอขัด เป็นวิธีการเบื้องต้นของการทอผ้าทุกชนิด คือมีเส้นพุ่งและเส้นยืนซึ่งอาจเป็นเส้นเดียวกันหรือต่างสีกัน ซึ่งจะทำให้เกิดลวดลายในเนื้อผ้าต่างกัน เช่น การทอเส้นยืนสลับสีก็จะเกิดผ้าลายริ้วทางยาว หรือถ้าทอเส้นพุ่งสลับสีก็จะได้ผ้าลายขวาง การทอเส้นยืนและเส้นพุ่งสลับสีก็จะได้ลายตาราง เป็นต้น ผ้าไหมที่ใช้เทคนิคการทอขัด เรียงตามความหนาของเนื้อผ้า เช่น 2.  มัดหมี่